พิธีนี้เขียนจากคำบอกเล่าของขุนอุปถัมภ์นรากรและคณะ
พิธีแต่งพอกหรือผูกผ้าใหญ่
ทำพิธีเช่นเดียวกันกับเข้าโรงครู แต่โรงครูไม่ต้องมีพระ นอกนั้นพิธีต่างๆ
ทำเหมือนกัน การทำพิธีแต่งพอกหรือผูกผ้าใหญ่เป็นพิธีไหว้ครู ครอบเทริดให้กับโนราที่ได้ฝึกหัดและรำได้เป็นอย่างดีแล้ว
ซึ่งภาษากลางเรียกว่า ครอบมือ
ผู้เข้าพิธีทุกคนแต่งตัวโนรา แต่แต่งมากพอกผ้าเข้ามากกว่าแต่งตามปกติคือมีผ้าพับและพอกไว้นอกผ้านุ่งธรรมดาอีก
๑ ผืน แล้วยังมี "ห่อพอก" ซึ่งทำกับผ้าสีหรือผ้ามีลวดลายก็ได้
ขมวดเป็นปม ๒ ข้าง ผูกไว้ข้างสะเอว ห่อพอกเดิมเคยทำเป็นหมอนยัดนุ่นไว้
ขนาดเดียวกับห่อทุเรียนกวนหรือทุเรียนเคี่ยว ห่อพอกหรือผ้าพอกน่าจะเป็นเครื่องแต่งตัวหรือที่เก็บเครื่องแต่งตัวในสมัยก่อน
แล้วจำลองลงมาให้เล็กลงเพื่อสะดวกในการผูกไว้กับเอว เพราะตามธรรมดาโนราเมื่อออกโรงแสดงแล้วก็มักมี
"ห่อพาย" ด้วยเดินทางไปแสดง ณ ที่ไกลๆ แล้วเดินทางกันไปเรื่อยๆ
ที่เข้าใจเช่นนั้น เพราะได้เห็นจากเครื่องแต่งตัวพราน พรานจะมีย่ามที่เรียกว่า
"ห่อพาย" ในห่อพายนั้นมีเคย (กะปิ) ขี้หมิ้น (ขมิ้น) ดีปลี
(พริกขี้หนู) สาร (ข้าวสาร) และเงินไปด้วย เพราะมีการเดินทางอยู่เสมอ
ฉะนั้น ห่อพอกก็น่าจะเป็นเช่นเดียวกัน
พีธีที่ข้าพเจ้าจะเขียนเล่าให้ท่านได้อ่านต่อไปนี้เป็นพิธีที่ข้าพเจ้าได้เห็นจากการทำพิธีไหว้ครู
แต่งพอกผูกผ้าใหญ่ ซึ่งขุนอุปถัมภ์นรากรได้จัดทำเพื่อครอบเทริดให้นักศึกษาวิทยาลัยครูสงขลา
เมื่อวันที่ ๕ ธ.ค.๑๗ ผิดถูกอย่างไรขออภัยด้วย
เริ่มพิธี
พิธีพระ
ประธานโนราจุดธูปเทียนบูชาพระรัตนตรัย ขอศีล
อาราธนาพระปริต พระสวดมงคลจนตัดด้ายสายสิญจน์ (ด้ายสายสิญจน์ต่อจากเทริดที่แขวนอยู่ข้างบน
ด้ายนี้เป็นมงคล โนรามักจะนำไปพันที่บนเทริด) ทำพิธีจนพระชยันโต
พิธีทางไหว้ครูโนรา
ผู้ไหว้นำดอกไม้ธูปเทียนมาไหว้ครู บูชาครู แล้วรำถวายไปตามลำดับต่อไปนี้
- สรรเสริญคุณครู
- สรรเสริญคุณมารดา
- คำเชิญครู
- เซ่น
- เชิญครูหมอ
- รำถวาย
- รำท่าครูสอน
- ท่าสอนรำ
- ท่าประถม
- ตั้งเมือง
- ช้าพระยาหงส์
- จับบทสิบสอง
- เชิด-ตัดเหมรย
เทริด ๙ ยอด (ครูโนรา)
นัก (ที่นั่งของครูโนรา) พร้อมเครื่องเซ่น
หย่อนเทริดเพื่อครอบให้กับโนราที่ฝึกรำจนเก่งแล้ว
เมื่อพิธีทางพระเสร็จพระก็จะหย่อนเทริดลง เพื่อครอบให้โนราใหม่
โดยมีครูโนราคอยช่วย และ ทำพิธีตัดด้ายสายสิญจน์