ประวัติ
โนราคล้ายขึ้หนอน หรือ นายคล้าย พรหมเมศ เกิดเมื่อปี
พ.ศ.๒๔๙๖ ที่บ้านคลองเข เปล ตำบลชะมาย อำเภอทุ่งสง จังหวัดนครศรีธรรมราช
ต่อมาได้ไปหัดโนรากับโนราเดช บ้านหูด่าน อำเภอร่อนพิบูลย์
จังหวัดนครศรีธรรมราช และได้มีครอบครัวที่บ้านสะพานไทร ตำบลควนเกย อำเภอร่อนพิบูลย์
โดยสมรสกับ นางปราง มีบุตร ๒ คน คือนายคล้อย พรหมเมศ และนางแคล้ว (พรหมเมศ)
พิบูลย์
โนราคล้าย พรหมเมศ ได้ออกโรงรำโนราอยู่หลายปี
จนมีชื่อเสียงเฉพาะท่ารำและการรำที่สวยงามของท่าน คือ "ท่าตัวอ่อน"
และ "ท่ากินนรเลียบถ้ำ" จึงทำให้มีสมญานามต่อมาว่า "คล้ายขี้หนอน"
(คำว่า "ขี้หนอน เป็นภาษาถิ่นใต้ หมายถึง "กินนร" ) ดังนั้นคำว่า
"โนราคล้าย ขี้หนอน" ก็คือ "โนราคล้ายกินนร" นั่นเอง
ที่เรียกกันเช่นนั้นเพราะว่าท่านชื่อคล้าย และรำโนรา สวยงามราวกับกินนรฉะนั้น
โนราคล้ายขี้หนอนเป็นศิลปินโนราคนแรกและคนเดียวเท่านั้น
ที่มีบรรดาศักดิ์เนื่องด้วยทางการแสดงโนราโดยตรง ท่านได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์จาก
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อปี พ.ศ.๒๔๕๑ แต่คนทั่วไปในสมัยนั้นมักเรียกว่า
"หมื่นระบำ" หรือ "หมื่นระบำบรรเลง" หมื่นระบำฯ มีศิษย์โนราในจังหวัดนครศรีธรรมราช
เช่น โนราเย็น โนราครื้น แห่งอำเภอฉวาง โนราไข่ร็องแร็ง บ้านทุ่งโพธิ์
อำเภอร่อนพิบูลย์ (ปัจจุบันอยู่ในอำเภอจุฬาภรณ์) โนราคลัน บ้านเตาปูน อำเภอร่อนพิบูลย์
(ปัจจุบันอำเภอจุฬาภรณ์) โนราคลี่ ชูศรี (พระครู ชั้นประทวน ปัจจุบันเป็นเจ้าอาวาสวัดมัชฌิมภูผา
หรือวัดดอนกลาง) ตำบลร่อนพิบูลย์ อำเภอ ร่อนพิบูลย์ ฯลฯ
โนราคล้ายขี้หนอนมีคู่แข่งที่สำคัญในสมัยนั้นคือ
คณะโนราช่วยรามสูร คณะโนราเย็นใหญ่ และคณะโนราคล้ายขี้หมิ้น เป็นต้น
หมื่นระบำบันเทิงชาตรี หรือหมื่นระบำ หมื่นระบำบรรเลง
โนราคล้ายขี้หนอนของชาวบ้านชาวเมืองในสมัยนั้น นับเป็นศิลปินโนราผู้อาวุโสของจังหวัดนครศรีธรรมราช
โดยได้ เป็นโนราคนแรกที่ได้นำเอาศิลปะการร่ายรำแบบโนราไปแพร่หลายในเมืองหลวงยุคนั้น
และยัง ได้รำถวายหน้าพระที่นั่งพระเจ้าแผ่นดินถึงสองพระองค์ จนทางการเห็นความสำคัญของโนรา
จึงได้บันทึกและถ่ายภาพไว้ศึกษา และรับไว้เป็นศิลปะการแสดงของชาติในเวลาต่อมา
หมื่นระบำบันเทิงชาตรี หรือโนราคล้ายขึ้หนอน เป็นโนราที่มีชื่อเสียงของเมืองนครศรีธรรมราช
มาตั้งแต่สมัยรัตนโกสินทร์ตอนกลาง ท่านได้มีชีวิตอยู่ถึงสี่แผ่นดิน คือ
เกิดในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ และถึงแก่กรรมในปี
พ.ศ.๒๔๗๖ ในรัช สมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๗ สิริรวมอายุได้
๘๐ ปี
ผลงาน/เกียรติคุณที่ได้รับ
๑.ได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์
ในปี พ.ศ.๒๔๕๑ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
รัชกาลที่ ๕ ได้ทรง พระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานบรรดาศักดิ์ให้โนราคล้ายขี้หนอนเป็น
"หมื่นระบำบันเทิงชาตรี" โดยโปรดเกล้าให้โนราคล้ายขี้หนอนเข้าไปรำโนราถวายหน้าพระที่นั่งในพระบรมมหาราชวัง
กรุงเทพมหานคร เนื่องในงานพระราชทาน และมีผู้ร่วมคณะไปด้วยกัน ๑๓ คน และ
ในโอกาสเดียวกันนั้น เจ้าหน้าที่ฝ่ายศิลปินในสำนักพระราชวัง ได้บันทึกท่ารำและบทกลอน
โนราไว้หลายบทหลายท่าเพื่อเป็นแบบฉบับสำหรับการศึกษาต่อไป
๒.ผลงานการเผยแพร่ศิลปะการรำโนรา
๑.ในปี พ.ศ.๒๔๖๖ ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
รัชกาลที่ ๖ ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้หมื่นระบำฯ และคณะโนราเมืองนครศรีธรรมราช
อันมีโนรามดลิ้น ตำบลควนเกย อำเภอร่อนพิบูลย์ โนราเสือ อำเภอทุ่งสง โนราพลัด
บ้านทุ่ง ให้ อำเภอฉวาง โนราคลิ้ง ตำบลควนเกย อำเภอร่อนพิบูลย์ โนราไข่ร็องแร็ง
บ้านทุ่งโพธิ์ ตำบลสามตำบล อำเภอร่อนพิบูลย์ (ปัจจุบันอยู่ในอำเภอจุฬาภรณ์)
พรานทองแก้ว พรานนุ่น กับ ลูกคู่รวม ๑๔ คน เข้าไปรำหน้าพระที่นั่ง ภายในพระบรมมหาราชวังอีก
ในครั้งนี้ โนรามดลิ้น ซึ่ง แสดงเป็นตัวนาง ได้รับพระราชทานนามสกุลว่า
"ยอดระบำ"
๒.หมื่นระบำฯ นำคณะโนราของเมืองนครศรีธรรมราชเข้าไปแสดงในกรุงเทพฯ
อีก ในการแสดงครั้งนั้น เจ้าหน้าที่ฝ่ายศิลปากรได้ถ่ายรูปปท่ารำต่างๆ ของหมื่นระบำฯ
และ โนราเย็น แห่งอำเภอฉวางผู้เป็นศิษย์ไว้เป็นแบบฉบับ เพื่อการศึกษาและเผยแพร่ดังปรากฏ
ในหนังสือตำรารำไทยในหอสมุดแห่งชาติ
จากชีวประวัติดังกล่าว จึงทำให้ทราบว่าศิลปะการแสดงแขนงนี้ได้เกิดขึ้นและรุ่งเรืองที่นครศรีธรรมราชมาก่อน
ดังที่พระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อย อาจารยางกูร) ได้กล่าวไว้ใน หนังสือไวพจน์ประพันธ์ของท่านว่า
"เขาเล่าว่าเดิมที ยังไม่มีละครไทย ชาตรีซึ่งมีใน เมืองนครก่อนเป็นครู"
ข้อมูล
: จันทรา
ทองสมัคร มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช