ท่ารำ
ท่ารำของโนราไม่มีกฏเกณฑ์ตายตัวว่าทุกคนหรือทุกคณะจะต้องรำเหมือนกัน
เพราะการรำโนรา คนรำจะบังคับเครื่องดนตรี หมายถึงคนรำจะรำไปอย่างไรก็ได้แล้วแต่ลีลา
หรือความถนัดของแต่ละคน เครื่องดนตรีจะบรรเลงตามท่ารำ เมื่ผู้รำจะเปลี่ยนท่ารำจากท่าหนึ่งไปยังอีกท่าหนึ่ง
เครื่องดนตรีจะต้องสามารถเปลี่ยนเพลงได้ตามคนรำ ความจริงแล้วท่ารำที่มีมาแต่กำเนิดนั้นมีแบบแผนแน่นอน
โดยเฉพาะอย่างยิ่งท่ารำในบทครูสอนสอนรำ และบทประถม ท่ารำเมื่อได้รับการถ่ายทอดมาเป็นช่วง
ๆ ทำให้ท่ารำที่เป็นแบบแผนดั้งเดิทเปลี่ยนแปลงไป เพราะหากจะประมวลท่ารำต่าง
ๆของโนราแล้ว จะเห็นว่าเป็นการรำตีท่าตามบทที่ร้องแต่ละบท การตีท่ารำจามบทร้องนี้เองที่เป็นประเด็นหนึ่งที่ทำให้ท่ารำเปลี่ยนแปลงและแตกต่างกันออกไป
เพราะท่ารำที่ตีออกมานั้นขึ้นอยู่กับความสามารถของผู้รำว่าบทอย่างนี้จะตีท่าอย่างไร
ท่ารำที่ค่อนข้างจะแน่นอนว่าเป็นแบบแผนมาแต่เดิมอันเป็นที่ยอมรับของผู้รำโนราจะต้องมีพื้นฐานเบื้องต้น
ดังนี้
การทรงตัวของผู้รำ
ผู้ที่จะรำโนราได้สวยงามและมีส่วนถูกต้องอยู่มากนั้น จะต้องมีพื้นฐานการทรงตัว
ดังนี้
- ช่วงลำตัว จะต้องแอ่นอกอยู่เสมอ หลังจะต้องแอ่นและลำตัวยื่นไปข้างหน้า
ไม่ว่าจะรำท่าไหน หลังจะต้องมีพื้นฐานการวางตัวแบบนี้เสมอ
- ช่วงวงหน้า วงหน้าหมายถึงส่วนลำคอจนถึงศีรษะ จะต้องเชิดหน้าหรือแหงนขึ้นเล็กน้อยในขณะรำ
- การย่อตัว การย่อตัวเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่ง การรำโนรานั้นลำตัวหรือทุกส่วนจะต้องย่อลงเล็กน้อย
นอกจากย่อลำตัวแล้ว เข่าก็จะต้องย่อลงด้วย
- ส่วนก้น จะต้องงอนเล็กน้อย ช่วงสะเอวจะต้องหัก จึงจะทำให้แลดูแล้วสวยงาม
การเคลื่อนไหว
นับว่าเป็นสิ่งจำเป็นอีกอย่าง เพราะการรำโนราจะดีได้นั้น ในขณะที่เคลื่อนไหวลำตัว
หรือจะเคลื่อนไหวส่วนใดส่วนหนึ่งก็ดี เช่น การเดินรำ ถ้าหากส่วนเท้าเคลื่อนไหว
ช่วงลำตัวจะต้องนิ่ง ส่วนบนมือและวงหน้าจะไปตามลีลาท่ารำ ท่ารำโนราที่ถือว่าเป็นแม่ท่ามาแต่เดิมนั้นคือ
" ท่าสิบสอง
ท่าสิบสอง โนราแต่ละคนแต่ละคณะอาจจะมีท่ารำไม่เหมือนกัน
ซึ่งอาจจะได้รับการสอนถ่ายทอดมาไม่เหมือนกัน (ตามที่ได้กล่าวมาแล้ว ) บางตำนานบอกว่ามีท่ากนก
ท่าเครือวัลย์ ท่าฉากน้อย ท่าแมงมุมชักใย ท่าเขาควาย บางตำนานบอกว่ามีท่ายืนประนมมือ
ท่าจีบไว้ข้าง ท่าจีบไว้เพียงสะเอว ท่าจีบไว้เพียงบ่า ท่าจีบไว้ข้างหลัง
ท่าจีบไว้เสมอหน้า อย่างไรก็ตามมีการตั้งข้อสันนิษฐานกันว่าท่าพื้นฐานของโนราน่าจะมีมากกว่านี้
สังเกตได้จากท่าพื้นฐานในบทประถมซึ่งถือกันว่าเป็นแม่บทของโนรา จึงไม่สามารถระบุลงไปได้ว่าท่ารำพื้นฐานมีท่าอะไรบ้าง
ท่ารำบทครูสอน
เป็นท่าประกอบคำสอนของครูโนรา เช่น สอนให้ตั้งวงแขน เยื้องขาหรือเท้า สอนให้รู้จักสวมเทริด
สอนให้รู้จักนุ่งผ้าแบบโนรา ท่ารำในบทครูสอนนี้นับเป็นท่าเบื้องต้นที่สอนให้รู้จักการแต่งกายแบบโนรา
หรือมีท่าประกอบการแต่งกาย เช่น
- ท่าเสดื้องกรต่อง่า เป็นการสอนให้รู้จักการกรายแขน หรือยื่นมือรำนั่นเอง
- ท่าครูสอนให้ผูกผ้า เป็นการสอนให้นุ่งผ้าแบบโนรา เวล่านุ่งนั้นต้องมีเชือกคอยผูกสะเอวด้วย
- ท่าสอนให้ทรงกำไล คือสอนให้ผูที่จะเริ่มฝึกรำโนรา รู้จักสวมกำไลทั้งมือซ้ายและมือขวา
- ท่าสอนให้ครอบเทริดน้อย คือสอนให้รู้จักสวมเทริด การครอบเทริดน้อยนั้นจะเปรียบแล้วก็เหมือนกับการบวชสามเณร
ส่วนการครอบเทริดใหญ่หรือพิธีครอบครูเปรียบเหมือนการอุปสมบทเป็นพระ ซึ่งการครอบเทริดน้อยจะไม่มีพิธีรีตรองอะไรมากนัก
- ท่าจับสร้อยพวงมาลัย คือท่าที่สอนให้รู้จักเอามือทำเป็นพวงดอกไม้หรือช่อดอกไม้
- ท่าเสดื้องเยื้องข้างซ้าย-ขวา ทั้งสองท่านี้เป็นท่าที่สอนให้รู้จักการกรายขาทั้งข้างซ้ายและข้างขวา
- ท่าถีบพนัก คือท่ารำที่เอาเท้าข้างหนึ่งถีบพนัก ( ที่สำหรับนั่งรำ )
แล้วเอามือรำ
ท่ารำยั่วทับ หรือ รำเพลงทับ เป็นการรำหยอกล้อกันระหว่างคนตีทับกับคนรำ
โดยคนรำจะรำยั่วให้คนตีทับหลงไหลในท่ารำ เป็นท่ารำที่แอบแฝงไว้ด้วยความสนุกสนานและตื่นเต้น
โดยผู้รำจะใช้ท่ารำที่พิสดาร เช่น ท่าม้วนหน้า ม้วนหลัง ท่าหกคะเมนตีลังกา
ซึ่งก็แล้วแต่ความสามารถของผู้รำที่จะประดิษฐ์ท่ารำขึ้นมา เพราะท่ารำไม่ได้ตายตัวแน่นอน
เครื่องดนตรีจะเน้นเสียงทับเป็นสำคัญ
ท่ารำรับเทริด
หรือ รำขอเทริด เป็นการรำเพื่อผ่อนคลายความตึงเครียด เพราะการรำรับเทริดนิยมรำหลังจากมีการรำเฆี่ยนพรายหรือรำเหยียบลูกมะนาวเสร็จแล้ว
เพราะการรำเฆี่ยนพรายหรือรำเหยียบลูกมะนาวเป็นการรำที่ต้องใข้คาถาอาคม
ผู้ชมจะชมด้วยความตื่นตะลึงและอารมณ์เครียดตลอดเวลาที่ชม แต่การรำขอเทริดเป็นการรำสนุก
ๆ หยอกล้อกันระหว่างคนถือเทริดหริอตัวตลกกับคนขอเทริดคือโนราใหญ่ที่ต้องรำด้วยลีลาท่าที่สวยงาม
นอกจากมีท่ารำแล้ว ยังมีคำพูดสอดแทรกโต้ตอบกันด้วย การรำขอเทริดนี้ตัวตลกจะเดินรำถือเทริดออกมาก่อน
แล้วคนขอจะรำตามหลังออกมาโดยคนขอยังไม่ได้สวมเทริด การรำขอเทริดจะใช้เวลารำประมาณ
๓๐-๔๕ นาที
สรุปท่ารำโนรา
ท่ารำของโนราที่เป็นหลัก
ๆ นั้นเมื่อแกะออกมารวมประมาณ ๘๓ ท่ารำ ดังนี้
ท่าประถม ( ปฐม )
๑. ตั้งต้นเป็นประถม
๒. ถัดมาพระพรหมสี่หน้า
๓. สอดสร้อยห้อยเป็นพวงมาลา
๔. เวโหนโยนช้า
๕. ให้น้องนอน
๖. พิสมัยร่วมเรียง
๗. เคียงหมอน
๘. ท่าต่างกัน
๙. หันเป็นมอน
๑๐. มรคาแขกเต้าบินเข้ารัง
๑๑. กระต่ายชมจันทร์
๑๒. จันทร์ทรงกลด
๑๓. พระรถโยนสาส์น
๑๔. มารกลับหลัง
๑๕. ชูชายนาดกรายเข้าวัง
๑๖. กินนรร่อนรำ
๑๗. เข้ามาเปรียบท่า
๑๘. พระรามาน้าวศิลป์
๑๙. มัจฉาล่องวาริน
๒๐. หลงไหลไปสิ้นงามโสภา
๒๑. โตเล่นหาง
๒๒. กวางโยนตัว
๒๓. รำยั่วเอแป้งผัดหน้า
๒๔. หงส์ทองลอยล่อง
๒๕. เหราเล่นน้ำ
๒๖. กวางเดินดง
๒๗. สุริวงศ์ทรงศักดิ์
๒๘. ช้างสารหว้านหญ้า
๒๙. ดูสาน่ารัก
๓๐. พระลักษณ์แผลงศรจรลี
๓๑. ขี้หนอนฟ้อนฝูง
๓๒. ยูงฟ้อนหาง
๓๓. ขัดจางหยางนางรำทั้งสองศรี
๓๔. นั่งลงให้ได้ที่
๓๕. ชักสีซอสามสายย้ายเพลงรำ
๓๖. กระบี่ตีท่า
๓๗. จีนสาวไส้
๓๘. ชะนีร่ายไม้
๓๙. เมขลาล่อแก้ว
๔๐. ชักลำนำ
๔๑. เพลงรำแต่ก่อนครูสอนมา
ท่าสิบสอง
๔๒. พนมมือ
๔๓. จีบซ้ายตึงเทียมบ่า
๔๔. จีบขวาตึงเทียมบ่า
๔๕. จับซ้ายเพียงเอว
๔๖. จีบขวาเพียงเอว
๔๗. จีบซ้ายไว้หลัง
๔๘. จีบขวาไว้หลัง
๔๙. จีบซ้ายเพียงบ่า
๕๐. จีบขวาเพียงบ่า
๕๑. จีบซ้ายเสมอหน้า
๕๒. จีบขวาเสมอหน้า
๕๓. เขาควาย
บทครูสอน
๕๔. ครูเอยครูสอน
๕๕. เสดื้องกร
๕๖. ต่อง่า
๕๗. ผูกผ้า
๕๘. ทรงกำไล
๕๙. ครอบเทริดน้อย
๖๐. จับสร้อยพวงมาลัย
๖๑. ทรงกำไลซ้ายขวา
๖๒. เสดื้องเยื้องข้างซ้าย
๖๓. ตีค่าได้ห้าพารา
๖๔. เสดื้องเยื้องข้างขวา
๖๕. ตีค่าได้ห้าตำลึงทอง
๖๖. ตีนถับพนัก
๖๗. มือชักแสงทอง
๖๘. หาไหนจะได้เสมือนน้อง
๖๙. ทำนองพระเทวดา
บทสอนรำ
๗๐. สอนเจ้าเอย
๗๑. สอนรำ
๗๒. รำเทียใบ่า
๗๓. ปลดปลงลงมา
๗๔. รำเทียมพก
๗๕. วาดไว้ฝ่ายอก
๗๖. ยกเป็นแพนผาหลา
๗๗. ยกสูงเสมอหน้า
๗๘. เรียกช่อระย้าพวงดอกไม้
๗๙. โคมเวียน
๘๐. วาดไว้ให้เสมือนรูปเขียน
๘๑. กระเชียนปาดตาล
๘๒. พระพุทธเจ้าห้ามมาร
๘๓. พระรามจะข้ามสมุทร
ขอขอบพระคุณ อ.ชัยยันต์
ศุภกิจ อดีตอาจารย์โรงเรียนบ้านท่ามิหรำ อ.เมือง จ.พัทลุง ผู้เอื้อเฟื้อข้อมูล